วิชาปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

จุดมุ่งหมายรายวิชา

1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถสรุปประเด็นและวิเคราะห์ปัญหาทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระบบและสามารถแก้ปัญหาได้

1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อสร้างชิ้นงานต้นแบบได้

1.3 เพื่อให้นักศึกษาสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน บุคคลที่ไม่อยู่ในสายงานด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ

1.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม 

1.5 เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานเป็นทีม เพื่อให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

1.6 เพื่อให้นักศึกษาแสดงออกถึงความรับผิดชอบและปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพ

ผลลัพธ์การเรียนยรู้ที่คาดหวังในระดับรายวิชา

CLO1 วิเคราะห์และสรุปประเด็นเพื่อแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระบบ

CLO2 ประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อสร้างชิ้นงานต้นแบบได้

CLO3 สื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน บุคคลที่ไม่อยู่ในสายงานด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ

CLO4 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม 

CLO5 ปฏิบัติงานเป็นทีม เพื่อให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

CLO6 แสดงออกถึงความรับผิดชอบและปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพ

วิธีการจัดการเรียนรู้/วัดและประเมินผล

กำหนดประเด็นปัญหาเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ การจัดการเรียนรู้ด้วย Project-Based Learning

ประเด็นปัญหา : นักศึกษาเลือกปัญหาจากสถานประกอบการ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชุม/ หรือปัญหา ของสังคมที่เป็นปัจจุบัน โดยมีกรอบในการเลือก คือ    

วิธีการ : ให้นักศึกษาใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือที่สัมพันธ์กัน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับกลุ่มปัญหาดังกล่าว สำหรับการสร้างชิ้นงานต้นแบบ

การแบ่งกลุ่ม : แบ่งกลุ่มนักศึกษา จำนวนกลุ่มละ 6 คน (พิจารณาตามความสนใจ)

Week1

- ชี้แจงคำอธิบายรายวิชา/Rubric

- ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาด้านนวัตกรรม

วิธีการ

(1) บรรยาย และกำหนดข้อตกลงร่วมกัน 


Week2

- Case Study เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม

- มอบหมายงานรายบุคคลให้ค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาจากสถานประกอบการ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชุม/ฯลฯ

วิธีการ

(1) Think-Square-share

(2) Brain strom


Week3

- แบ่งกลุ่มนักศึกษาตามหัวข้อที่นักศึกษาสนใจและค้นคว้ามา

วิธีการ

(1) Brain storm  (AaL, Peer, 3)


Week4

- การพัฒนาโจทย์วิจัยเชิงนวัตกรรมด้วยกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) 

วิธีการ

(1) Design thinking ด้วยแผนภาพดอกบัว Lotus Blossom (AoL, Rubrics,Peer#ผู้สอน, 3) (AfL, Peer#ผู้สอน, 3) (AaL, นศ comment, 3)


Week5

- เตรียมเนื้อหาการสอบหัวข้อ (Proposal) (Report and Presentation)

วิธีการ

(1) Think-Square-share

(2) Brain strom


Week6

- นำเสนอ Proposal

- แก้ไขเนื้อหาตามข้อเสนอแนะ

วิธีการ

(1) Presentation and Answer questions

(2) Report (AoL, Peer#ผู้สอนและ อ.ในหลักสูตร, 0) (AfL, Rubrics#report and presentation , 15)


Week7-8

- ดำเนินการตามแผนงานโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม

- อาจารย์ให้คำปรึกษาและติดตามความก้าวหน้าอย่างไม่เป็นทางการ

วิธีการ

(1) กำหนดบทบาทหน้าที่ของการทำงานของแต่ละคนพร้อมตารางการทำงาน (AfL, Peer#ผู้สอน, 0) (AaL, นศ วิเคราะห์ภาระงานตัวเองและเพื่อนๆ , 0)


Week9

- ส่งรายงานและนำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 1

วิธีการ

(1) Presentation and Answer questions

(2) Report (AfL, Peer#ผู้สอน and Rubric, 8)


Week10-11

- ดำเนินการตามแผนงานโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม

- อ.ให้คำปรึกษาและติดตามความก้าวหน้าอย่างไม่เป็นทางการ

*ติดตามว่าสามารถแก้ไขได้ตามความต้องการ

วิธีการ

(1) กำหนดบทบาทหน้าที่ของการทำงาน


Week12

- ส่งรายงานและนำเสนอความก้าวหน้าครั้งที่ 2

วิธีการ

(1) Presentation and Answer questions

(2) Report (AfL, Peer#ผู้สอน and Rubric, 10)


Week13

- ดำเนินการตามแผนงานโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม

- อ.ให้คำปรึกษาและติดตามความก้าวหน้าอย่างไม่เป็นทางการ

* ติดตามว่าสามารถแก้ไขได้ตามความต้องการ


Week14

- ส่งรายงานและเตรียมนำเสนอ

- ส่งบทความทางวิชาการ (ฉบับร่าง)


Week15

- นำเสนอผลงาน พร้อมสาธิตการทำงาน

วิธีการ

(1) นำเสนอผลงานในรูปแบบเชิงวิชาการ (AaL, Rubrics,Peer#ผู้สอนและอ.ในหลักสูตร, 30) (AaL, นักศึกษาถามตอบและให้ข้อเสนอแนะผ่านระบบออนไลน์, 5)


Week16-17

- สอบปลายภาค (เน้นกระบวน การแก้ปัญหาเชิงระบบ)  (AoL, ข้อเขียนเชิงวิเคราะห์, 15)

- ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ (ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ)

- ส่งบทความทางวิชาการ (ฉบับปรับแก้) (AoL, Rubrics#รายงาน, 5)


แนวทางการทำโครงงาน Project-Based Learning

แนวทางการทำโครงงาน Project-Based Learning

หาหัวข้อโครงงาน

ศึกษาและหาข้อมูลที่เป็นปัญหาของสถานการณืปัจจุบัน/ดูความเป็นไปได้ทั้งในเชิงงบประมาณ ระยะเวลา ความรู้ความสามารถ และวางแผนการทำงาน (ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา)


การดำเนินงานโครงงาน

ทบทวนวรรณกรรมและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง กำหนดวิธีการแก้ปัญหา ออกแบบและทดลองตามระเบียบวิธีการที่สอดคล้องในแต่ศาสตร์สาขาวิชา ปรับปรุงแก้ปัญหา (รายงานผลเป็นระยะ)


จัดทำรายงาน/การนำเสนอ

จัดทำรายงานตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ประกอบด้วย บทนำ/การทบทวนเอกสารและวรรณกรรม/วิธีการดำเนินงาน/ผลการดำเนินงาน/สรุปผล ปัญหาและข้อเสนอแนะ


นำเสนอผลงาน

เพื่อนำเสนอผลงานที่ได้ศึกษาทั้งหมด  ฝึกฝนทักษะการสื่อสาร หลักฐานยืนยันในการปฏิบัติงาน (การนำเสนอจะต้อง กระชับ ตรงประเด็น ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด)


คำอธิบายรายวิชา

นักศึกษานำเสนอปัญหาเพื่อแก้ปัญหาให้กับคณาอาจารย์ในหลักสูตร ปัญหาที่ได้รับการเลือกจากประสบการณ์ และความสนใจของนักศึกษา หรือจากความสนใจของคณาจารย์ในหลักสูตร หรือจากแหล่งอื่นๆ เช่น สถานประกอบการ หรือหน่วยงานของรัฐ การจัดทำรายงานและการนำเสนอเพื่อประเมินผล

หัวข้อบทเรียน

หัวข้อบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ